งานของดีเมืองอ่างทองและงานกาชาดประจำปี ณ สนามหญ้าหน้าศาลากลาง จ.อ่างทองเป็นงานประจำปีของชาวอ่างทองที่จัดขึ้นหลังฤดูเก็บเ ...
เทศกาลกินขนม ชมแม่น้ำ ณ ตลาดศาลเจ้าโรงทอง ตลาดจีน-ไทย สายใยร้อยปี วิถีวัฒนธรรม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง กิจกรรมภา ...
งานไหว้ครูกลอง ที่หมู่บ้านทำกลอง อำเภอป่าโมก จัดเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ ที่ประสิท ...
งานประเพณีแข่งเรือยาววัดป่าโมก จัดขึ้นบริเวณวัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือช่วงเดือนมีนาคม เป็นงาน ...
งานนมัสการหลวงพ่อวัดไชโย ภายในงานมีการนมัสการและสมโภชสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี) และพระมหาพุทธพิมพ์ จัดขึ้นราวเดื ...
วัดท่าอิฐ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2304 บริเวณที่ตั้งเดิมเข้าใจว่าเป็นที่ปั้นเผาอิฐนำไปก่อสร้างวัดขุนอินทประมูล นับว่าเป็นสถานที่ขนอิฐหรือท่าขนอิฐ และเมื่อได้สร้างวัดขึ้นจึงขนานนามว่าวัดท่าอิฐ พระประธานในอุโบสถชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อเพ็ชร”
ศาลหลักเมืองมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่สถิตย์ของเทพารักษ์พระเสื้อ เมือง พระทรงเมือง จะปกปักรักษาและปัดเป่าภัยพิบัติต่าง ๆ เพื่อให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองและประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
วัดถนนเป็นวัดที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ภายในวัดมีพระยืนขนาดเท่าองค์จริง ประดิษฐานอยู่ในวิหารนามว่า “หลวงพ่อพระพุทธรำพึง” เป็นพระพุทธรูปแกะด้วยไม้องค์ยืน สูง 2 เมตรกว่า
วัดม่วงเป็นสถานที่น่าสนใจ ภายในวัดมีสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น พระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกลีบบัวสีชมพูขนาดใหญ่ที่สุดในโลก วิหารแก้ว ชั้นล่าง เป็นพิพิธภัณฑ์วัตถุมงคลและวัตถุโบราณ เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ 09.00-17.00 น. ภายในมีรูปปั้นเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ
ตลาดวิเศษชัยชาญ ตลาดนี้เป็นตลาดเก่ามีอายุกว่า 100 ปี เป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ ยังคงเห็นสภาพบ้านเรือน ตึกแถวไม้ โรงแรมเก่า โรงสีข้าว ร้านขายของชำ ร้านขายเครื่องยาจีนและไทย
ค้างคาวแม่ไก่วัดจันทาราม ในบริเวณวัดแห่งนี้มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นจึงเป็นที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ ค้างคาวแม่ไก่และนกนานาชนิดมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ค้างคาวแม่ไก่เหล่านี้จะออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะห้อยหัวอยู่ตามกิ่งไม้เป็นสีดำพรืดมองเห็นแต่ไกล
วัดต้นสนสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่ไม่มีการจดบันทึกประวัติเป็นหลักฐานแน่ชัด จึงเล่าสืบต่อกันมาว่า วัดชำรุดทรุดโทรมมากเกือบจะกลายเป็นวัดร้าง ต่อมาในปี พ.ศ.2488 พระราชสุวรรณโมลี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอ่างทองได้บูรณะก่อสร้างและขยายอาณาเขตให้กว้างขวาง
วัดขุนอินทประมูล อยู่ในเขตตำบลอินทประมูล เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ มีชื่อว่า พระศรีเมืองทอง มีความยาววัดจากปลายพระเมาลีถึงปลายพระบาทได้ 50 เมตร
ตุ๊กตาชาววังเป็นประดิษฐกรรมดินเหนียวที่สวยงามแสดงให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและวัฒนธรรมประเพณีไทยต่าง ๆ เช่น การละเล่นของเด็กไทย วงมโหรีปี่พาทย์ หรือรูปผลไม้ไทยหลากหลายชนิดซึ่งล้วนมีความสวยงามน่ารักและเหมาะที่จะซื้อเป็นของฝากหรือของที่ระลึก
พระตำหนักคำหยาดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ สภาพปัจจุบันมีเพียงผนัง 4 ด้าน ตัวอาคารตั้งโดดเด่นอยู่กลางทุ่งนา ก่อด้วยอิฐถือปูนขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ยังคงเห็นเค้าความสวยงามทางด้านศิลปกรรม
อนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งเป็นชาวบ้านนรสิงห์และเป็นพันท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยสมัยพระเจ้าเสือ ซึ่งยืนยันขอรับโทษประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาลที่ไม่สามารถบังคับเรือพระที่นั่งจนหัวเรือกระแทกกิ่งไม้หักลง
วัดป่าโมกวรวิหาร ภายในวัดแห่งนี้มีพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของเมืองไทย องค์พระก่ออิฐถือปูนปิดทอง มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร สร้างในสมัยสุโขทัย
วัดไชโยวรวิหาร หรือ วัดเกษไชโย เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร มีองค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในพระวิหารที่มีความสูงใหญ่สง่างามแปลกตากว่า วิหารแห่งอื่น ๆ พุทธศาสนิกชนจากที่ต่าง ๆ มานมัสการอย่างไม่ขาดสาย
วัดสี่ร้อยเป็นวัดอยู่ริมแม่น้ำน้อย บริเวณวัดเงียบสงบตามแบบของวัดทั่วไป แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยิ่งใหญ่อลังการ คือ พระพุทธรูปปางป่าเลไลก์สีทอง สูงถึง 21 เมตร หน้าตักกว้าง 6 เมตร เศษ ซึ่งมีนามว่า "หลวงพ่อโต" ประทับนั่ง หน้าพระพักต์หันไปทางทิศตะวันออก
ตลอดสองข้างทางจะเห็นร้านขายกลองเป็นระยะๆ ชาวบ้านแพเริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 โดยจะเริ่มหลังฤดูเก็บเกี่ยววัตถุดิบที่ใช้ทำกลองได้แก่ ไม้ฉำฉาเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายกับหนังวัว มีความสวยงามและยังสามารถซื้อไปเป็นของที่ระลึกได้
วัดสระแก้วเป็นวัดที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง ภายในวัดสระแก้วมี อาคาร “สามัคคีสมาคาร” ซึ่งเป็นอาคารศูนย์โครงการทอผ้าตามพระราชประสงค์ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2524 อยู่ในความรับผิดชอบของ กองอุตสาหกรรมในครอบครัว กระทรวงอุตสาหกรรม ภายในอาคารมีสินค้าผ้าทอคุณภาพดี
อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้วเป็นอนุสรณ์สถานซึ่งประดิษฐานรูปเหมือนของวีรชนคนกล้า 2 ท่านด้วยกัน นั่นคือ คุณดอกแล้วและคุณทองแก้ว ซึ่งเมื่อครั้งที่มีการศึกระหว่างชาวบางระจันกับพม่า ทั้ง 2 ท่านได้ร่วมรบมีความเสียสละเพื่อชาติอย่างมาก
วังปลาวัดข่อย เป็นสถานที่ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีปลาอยู่เป็นจำนวนมากมาตั้งแต่สมัยพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อเข็ม) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 พระครูสรกิจจาทรเป็นเจ้าอาวาสได้ปรับปรุงสถานที่และร่วมกับสำนักงานประมง
วัดอ้อย เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองวิเศษชัยชาญ พระอุโบสถเป็นอาคารขนาดใหญ่หกห้อง ก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ หลังคาเป็นเครื่องไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา สวยงามคล้ายกับพระอุโบสถวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดวิเศษชัยชาญ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองวิเศษชัยชาญมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันเหลือหลักฐานเพียงเจดีย์เท่านั้น มีพระอุโบสถซึ่งภายในมีวิจิตรกรรมฝาผนัง ที่เขียนขึ้นในสมัยเดียวกัน เป็นภาพพุทธประวัติและภาพข้าศึกที่เป็นฝรั่งเข้ามา
วัดท่าสุทธาวาสเป็นสถานที่สำัคัญและน่าสนใจ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออกเขตตำบลบางเสด็จ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณ ในสมัยอยุธยาตอนต้น เวลาศึกสงครามบริเวณนี้จะเป็นเส้นทางเดินทัพข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
วัดจันทรังษี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2446 มีการจัดสวนประดับประดาด้วยต้นไม้น้อยใหญ่อย่างสวยงาม ภายในวัดมีวิหารจัตุรมุขมียอดบุษบกกลาง 5 ชั้น สูง 48 เมตร กว้าง 24 เมตร ยาว 33 เมตร มีสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงามที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
วัดบ้านพราน เป็นวัดเก่าแก่สร้างในครั้งใดไม่ปรากฏ ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ชัยมงคล แห่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่าให้ฟังว่า ผู้ที่สร้างวัดบ้านพรานชื่อ นายพาน นางเงิน สองสามีภรรยา และนายกระปุกทอง ผู้เป็นบุตร
วัดราชปักษี(นก) ภายในวัดมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่มีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก แต่มีขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ และยังมีพระพุทธรูปสร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรมราว พ.ศ. 2163
วัดอ่างทองวรวิหารเป็นวัดที่สำคัญ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร พุทธสถานที่สำคัญได้แก่ พระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นใหม่ระหว่าง พ.ศ.2499 -2500 แทนอุโบสถหลังเดิมที่สร้างตั้งแต่ 2445 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน พระเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมประดับกระจกสี
วัดโพธิ์หอมเป็นสถานที่สำคัญ มีสิ่งที่น่าสนใจคือ รูปพรหมสี่หน้าปูนปั้นขนาดใหญ่จำนวน 2 เศียรที่ขุดได้ ภายในวัดประดิษฐานอยู่ในซุ้มข้างเจดีย์ ลักษณะศิลปะเป็นแบบขอม ซึ่งเดิมอาจใช้เป็นส่วนยอดของประตูวัดหรือพระอุโบสถ
วัดสระเกษ เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยภูมิ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ 15 กิโลเมตร ตำบลชัยภูมินี้เดิมชื่อ บ้านสระเกษ ขึ้นอยู่กับแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ
วัดมธุรสติยาราม มีพระอุโบสถเจดีย์และวิหารที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณกำแพงแก้วเดียวกัน โดยวางจัดกลุ่มได้เหมาะสม มีรูปทรงที่งดงาม เป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายชัดเจน พระอุโบสถลักษณะอาคารเป็นรูปโค้งสำเภาก่ออิฐถือปูน กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร